วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ประวิติส่วนตัว

ชื่อ:     นายอัศวินนิยมธรรม นักศึกษาสาขาวิชา คริสตศาสนศึกษา วิทยาลัยแสงธรรม ชั้นปี 2
สังกัดคณะนักบวช:     เซนต์คาเบรียล
จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่:     6 ที่โรงเรียน อัสสัมชัญนครราชสีมา
กิจกรรมในเวลาว่าง:     ชอบฟังเพลง เล่นอินเตอร์เน็ต
กีฬาที่ชอบ:     เปตอง แบ็ต วอลเล่ย์บอล
สีที่ชอบ:     สีคราม เสีเขียว เพราะเป็นสีที่ดูสบายตา
เห็ตุการณ์ที่ประทับใจในชีวิต:     การเป็นผู้นำในโรงเรียน ได็รู้จักกับครูที่ใจดี เข้าใจตัวเราเอง ได้เจอเพื่อนที่ดีๆ เป็นที่ไว้วางใจกับคณะภราดาในโรงเรียน และคณะครู
เหตุการณ์ที่ไม่ประทับใจในชีวิต:    จมน้ำเพราะถูกเพื่อนกด การที่ถูกคนที่เรารักไม่ชอบ และไม่เข้าใจกัน การถูกมองในแง่ลบในบางครั้ง ที่สุดคือ ทำให้แม่ต้องร้องให้
สิ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นผม:    เข้ากับคนง่าน ร่าเริง ชอบทำกิจกรรม โกรธง่าย หายเร็ว ใจร้อน 

เจ้าคณะแขวงคณะเซนต์คาเบรียลประเทศไทย








                      สมัย ภราดาฮิวเบิร์ต เป็นเจ้าคณะแขวงฯ ศูนย์กลางแขวงฯ ตั้งอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ  บางรัก มีภราดา 30 คน เป็นชาวฝรั่งเศส 15 คน สเปน 9 คน และภราดาไทยอีก 6 คน ท่านได้เปิดยุวลัยนักบุญหลุยส์ มารี ที่อำเภอศรีราชา และเปิดโรงเรียนเซนต์หลุยส์ที่แปดริ้ว ด้วย พระสังฆราช หลุยส์ โชแรง  ได้พูดขู่ท่านว่า ถ้าไม่ยอมเปิดจะขับภราดาออกจากประเทศ ทั้งนี้เพราะท่านมักมัวรีรอไม่อยากเปิดโรงเรียนใหม่
                      ปี ค.ศ.1951 : เป็นปีฉลอง “สุวรรณสมโภช” ของแขวงไทย มีผู้หลักผู้ใหญ่ทั้งฝ่ายพระ  ศาสนจักรและฝ่ายรัฐบาล ตลอดจนศิษยานุศิษย์มาร่วมแสดงความยินดีมากมาย
                      ปี ค.ศ.1959 : สมัยภราดายอห์น แม่รี่ ตอนต้น ศูนย์กลางแขวงฯ อยู่ที่โรงเรียนเซนต์คา   เบรียล กรุงเทพฯ สมัยของท่านมีผลงานของแขวงฯ คือ ได้เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญขึ้น ที่จังหวัดลำปาง ในที่ดินของสังฆมณฑล ซึ่งเป็นที่นาโล่งๆ
                      ปี ค.ศ.1960 : ท่านได้ส่งภราดาไปดูแลโรงเรียนดาราสมุทรอำเภอเนื่องเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยตั้งยุวลัยเล็กขึ้น มียุวนิส ตั้งแต่ชั้น ป. 5-7 ที่นั่น จนถึงปี ค.ศ.1963 จึงออกจากโรงเรียนดาราสมุทร พร้อมทั้งย้ายยุวลัยเล็กไปอยู่ที่โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง
                      ปี ค.ศ.1961 : ได้เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี คุณไถ สุวรรณฑัต  เป็นผู้มอบที่ดินให้ คุณไถงเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ท่านได้ทำที่ดินจัดสรรให้คุณจนา ที่หมู่บ้านเศรษฐกิจ บางแค เมื่อแรกเปิดโรงเรียนใหม่ๆ พื้นที่เป็นเพียงทุ่งนาโล่งๆ ไม่มีไฟฟ้า และสาธารณูปโภคใดๆ ทั้งสิ้น
                      ใน ปีนี้ ท่านยังได้ส่งภราดาไปดูแลโรงเรียนเปรมฤดีศึกษา ของสังฆมณฑลกรุงเทพฯ  แต่ได้ถอนตัวออกมาในปี ค.ศ. 1968 และดูแลโรงเรียนกุหลาบวิทยาของสังฆมณฑลกรุงเทพฯ และได้ถอนตัวออกเมื่อปี พ.ศ. 1973
                      ปี ค.ศ.1962 : ท่านได้สร้างศูนย์กลางแขวงฯ ขึ้นที่ซอยทองหล่อ ท่านได้นัดเจ้าของที่ไปโอนที่ดินกัน แต่เจ้าของไม่ไปตามนัด ขณะที่รออยู่นั้นท่านได้พบคนที่รู้จักกันดีเข้ามาทักทาย  เมื่อทราบเจตนาของท่านว่าจะซื้อที่ดิน เขาก็เลยเสนอขายที่ดินแปลงที่ตั้งของศูนย์กลางแขวงฯปัจจุบันนี้ให้แทน
                      ปี ค.ศ.1963 : ท่านได้เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญ ระยองขึ้น ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง คือ    คุณส่ง เหล่าสุนทร สมัยนั้นได้มาเห็นโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชาเข้า  เลยอยากให้มีโรงเรียนที่จังหวัดระยองบ้าง จึงได้เข้าติดต่อภราดายอห์น แมรี่ และเสนอมอบที่ดินให้เพื่อตั้งโรงเรียน ภราดายอห์น แมรี่ จึงได้เชิญชวน คณะซิสเตอร์ เซนต์ปอล เดอ ชาร์ต  ให้มาตั้งโรงเรียนหญิง โดยแบ่งที่ดินให้คณะซิสเตอร์และยังให้กับวัดด้วย
                      ปี ค.ศ.1965 : ท่านได้รับโรงเรียนสัพพัญญู โรงเรียนของสังฆมณฑลอุบลฯ มาอยู่ในความรับผิดชอบของแขวงและเปลี่ยนชื่อเป็น อัสสัมชัญอุบลราชธานี แรกๆ นั้นพระสังฆราชอยากจะยกให้ภราดาคณะ เดอ ลาซาล แต่ฝ่ายนั้นไม่พร้อมที่จะรับ ท่านจึงเสนอให้คณะเซนต์คาเบรียลรับแทน
                      ภราดา ยอห์น แม่รี่ กล่าวว่า เหตุที่เปิดโรงเรียนหลายแห่งได้ ก็เพราะมีภราดาจากฝรั่งเศสและจากอินเดียเข้ามาช่วยงานแขวงฯ เพิ่มขึ้น และภราดาไทยเองก็มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นด้วยและในปีนี้เองที่ภราดายอห์น แมรี่ ได้รับเลือกตั้งเป็นรองอัคราธิการ ซึ่งต้องไปประจำที่ศูนย์กลางของคณะฯ ที่กรุงโรม
                      ขณะ นี้ในแขวงฯ มีภราดาชาวไทย 41 องค์  ชาวอินเดีย 4 องค์ ชาวฝรั่งเศสและชาวสเปน 39 องค์ เป็นธรรมดาและสมควรอย่างยิ่งที่ภราดาชาวไทยต้องรับผิดชอบในการบริหารแขวงของ ตน คณะเซนต์คาเบรียลจึงมีมติแต่งตั้งภราดาอำนวย ปิ่นรัตน์  เป็นเจ้าคณะแขวงฯ ที่เป็นคนไทยคนแรก ให้บริหารแขวงฯต่อไป
                      ปี ค.ศ.1966 : ภราดาอำนวย ปิ่นรัตน์  ได้ตัดสินใจ แยกแผนกประถมของโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก มาอยู่ในพื้นที่ส่วนหนึ่งของโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ เพราะจำนวนนักเรียนในที่เดิมเพิ่มขึ้นมาก ทำให้พื้นที่ของโรงเรียนดูแออัด
                      ปี ค.ศ.1967 : ท่านได้เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญ นครราชสีมา ในที่ดินของสังฆมณฑล        ที่ภราดายอห์น แมรี่ เจ้าคณะแขวงฯองค์ก่อนได้ตกลงกันกับทางศาสนจักรไว้แล้ว โดยเริ่มต้นจากทุ่งโล่งๆ เช่นเดียวกับอัสสัมชัญ ลำปาง และอัสสัมชัญธนบุรี
                      ปี ค.ศ.1968 : ท่านได้เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญอาชีวะที่บางแค อยู่ส่วนหลังของวัดนักบุญหลุยส์ มารี ปัจจุบันโรงเรียนนี้ได้ปิดลงในปี ค.ศ. 1974 เพราะไม่เป็นที่นิยมของผู้เรียน
                      ปี ค.ศ.1969 : ท่านเห็นชอบให้ภราดาเบอร์นาร์ด เปิดวิทยาลัยบริหารธุรกิจ ขึ้นในบริเวณอัสสัมชัญพาณิชย์ มีหลักสูตรระดับปริญญาตรี 4 ปี สาเหตุเพราะนักเรียนส่วนใหญ่อยากมีการศึกษาสูงขึ้น
                      ปี ค.ศ.1970 : ท่านได้อนุมัติให้ภราดาเอ็ดเวิร์ด แยกแผนกประถมของมงฟอร์ต ไปเปิดในที่ดินที่ซื้อใหม่ ไม่ห่างจากที่ดินเดิมนัก
                      ปี ค.ศ.1971 : ท่านได้อนุมัติให้ภราดาฟรังซัวส์  ดำเนินการเปิดโรงเรียนอัสสัมชัญอาชีวะ ที่จังหวัดระยอง แต่เนื่องจากโรงเรียนอยู่ห่างจากตัวเมืองถึง 7  กิโลเมตร  นักเรียนท้องถิ่นสนใจมาสมัครเรียนน้อย  ดังนั้น ในปี ค.ศ. 1976  โรงเรียนแห่งนี้จึงได้ปิดกิจการอย่างน่าเสียดาย
                      ปี ค.ศ.1972 : ท่านได้เห็นชอบให้ภราดาอูร์แบง  เปิดบ้านเด็กวิริยานุชนสถาน ขึ้นที่จังหวัดขอนแก่น เพื่อดูแลและให้การศึกษาแก่ลูกหลานของผู้ที่ป่วยเป็นโรคเรื้อนที่ขัดสน จากนั้น ท่านได้อนุญาตให้ภราดาวิกตอเรีย เปิดโรงเรียนประถมที่บ้านโนนสมบูรณ์ และให้ภราดา      เอมมานูแอล ดำเนินงานสงเคราะห์คนโรคเรื้อน ที่บ้านน้อยสามเหลี่ยม บ้านชาติ และบ้านห้วนดินลาด ในจังหวัดขอนแก่น มาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1968
                       ค.ศ.1973 : ท่านได้พิจารณาเห็นชอบให้วิทยาลัยบริหารธุรกิจ ย้ายไปตั้งในพื้นที่หมู่บ้านเสรี หัวหมาก และกลายเป็นวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ ต่อมาภราดาสมพงศ์  ชีรานนท์        เป็นผู้สานต่อ
                      ท่าน ภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย ไปศึกษาแล้วกลับมาช่วยงานด้านสื่อมวลชนคาทอลิกที่โคราช และส่งภราดาอารมณ์ พูลโภคผล ไปดูงานด้านสังคมสงเคราะห์ที่ห้วยขวาง เพราะสังคายนาวาติกันที่ 2 และสมัชชาของคณะฯ มุ่งให้ภราดาหันกลับไปสู่จิตตารมณ์แรกเริ่มของผู้ก่อตั้งคณะฯ คือให้สนใจคนยากจนเป็นพิเศษ เพราะแต่เดิมภราดาจะให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ด้อยโอกาสในรูปของทุนการศึกษาแก่ เด็กยากจนในโรงเรียนที่ภราดาดำเนินงานอยู่ และในรูปของการดูแลเด็กกำพร้า ซึ่งเริ่มมาแต่สมัยของ บาทหลวงกอลมเบต์ ที่โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก  โดยคุณพ่อกอลมเบต์จะเป็นผู้เสนอแนะให้ภราดาดูแลเด็กกำพร้าในอัตราส่วน 1 คนต่อจำนวนนักเรียน 100 คน 
                      ท่านได้เริ่มส่งภราดาไปศึกษาต่อที่ประเทศฟิลิปปินส์ ด้วย AIM มนิลา และ St.Louis University  ที่เมืองบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์
                      ปี ค.ศ.1975 : ภราดาประทีป ม. โกมลมาศ รับหน้าที่เจ้าคณะแขวงฯ เพียง 3 ปี ในปี ค.ศ. 1975  ท่านได้เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญอาชีวะ ระนอง  เนื่องจากนักเรียนส่วนมากมาจากที่อื่น    ท่านได้ส่งภราดาไปศึกษาต่อทั้งทางโลกและทางธรรมที่ประเทศฟิลิปปินส์เพิ่ม ขึ้น
                      ท่าน ได้เปิดนวกสถานฝึกอบรมภราดาไทยขึ้น ที่บางแค และในปี ค.ศ. 1976 ท่านได้เปลี่ยนไปเป็นบ้านนักศึกษาแทน จนย้ายไปอยู่ในที่ใหม่ ที่สามพราน
                      ท่าน ได้ทดลองเปิดศูนย์ฝึกอาชีพด้านเกษตรกรรม ที่องครักษ์ จังหวัดนครนายก และถอนตัวในปี ค.ศ. 1980  โดยย้ายอุปกรณ์ ครู และอื่นๆ มาที่วิริยานุชนสถาน จังหวัดขอนแก่น  เพราะภราดาฟรังซัวร์ ได้ย้ายอุปกรณ์การฝึกอาชีพขึ้นมาที่วิริยานุชนสถาน ปี ค.ศ. 1978 ตามคำเชิญของภราดายอห์น แมรี่  ผู้ดูแลวิริยานุชนสถานแทนภราดาเอมมานูแอล ผู้บุกเบิกงานด้านพัฒนาชนบทกับผู้ป่วยโรคเรื้อน  ภราดาเอมมานูแอลได้เสียชีวิตอย่างกะทันหัน ขณะทำการล้างบ่อน้ำข้างคลินิคนิรมล ที่บ้านน้อยสามเหลี่ยม ในปี ค.ศ. 1976
                      ปี ค.ศ.1978 : ท่านได้เปิดศูนย์ฝึกอาชีพวิริยานุชนสถาน ที่จังหวัดขอนแก่น โดยมีภราดา  ฟรังซัวส์ทำการฝึกอาชีพลูกหลานของผู้ป่วยโรคเรื้อนทางด้านสารพัดช่าง หลักสูตร 2 ปี
                      ปี ค.ศ.1979 : ท่านได้เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญ สำโรง โดยมีนักธุรกิจของสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 ได้บริจาคที่ดินให้ในหมู่บ้านทิพวัล ซึ่งเป็นหมู่บ้านจัดสรร  มีจุดมุ่งหมาย คือ ให้เป็นโรงเรียนทดลอง โดยให้ฆราวาสรับผิดชอบเต็มตัว มีอธิการเจ้าคณะแขวงฯเป็นผู้ควบคุมดูแล  นโยบายการบริหารเท่านั้น
                      ท่าน ได้เชิญนักเทศน์จากต่างประเทศ มาให้ข้อคิดข้อรำพึงในการเข้าเงียบของภราดา    แต่ละครั้งในแต่ละปี  ท่านได้ส่งภราดาไปแสวงบุญมงฟอร์ตเป็นรุ่นแรก เพื่อฟื้นฟูจิตตารมณ์ของมงฟอร์ต       ผู้ก่อตั้งคณะฯ
                      ท่าน ได้แบ่งหน้าที่รับผิดชอบ ให้แก่ภราดาที่ปรึกษาเจ้าคณะแขวงฯ ดูแลโรงเรียนในภาคต่างๆ รวม 4 ภาค คือ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก  และภาคกลาง
                      ปี ค.ศ.1983 : ท่านได้เปิดบ้านนักศึกษาเซนต์คาเบรียล สามพราน สำหรับผู้เตรียมตัวบวชเป็นภราดา โดยระงับการส่งผู้เตรียมตัวบวชไปประเทศอินเดียเช่นแต่ก่อน
                      ปี ค.ศ.1984 : ท่านได้จัดสมัชชาแขวงขึ้น โดยนำแนวทางพัฒนาองค์กร มาเริ่มใช้ โดยเชิญวิทยากรจากประเทศฟิลิปปินส์มาช่วยวางแผน
                      ปี ค.ศ.1985 : ท่านได้เปิดนวกสถานขึ้นที่สันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อทำการฝึกอบรม  ผู้เตรียมตัวบวชเป็นภราดา โดยมีภราดาอำนวย ยุ่นประยงค์ เป็นนวกอาจารย์ชาวไทยคนแรก    ในปีนี้ โรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก ได้เฉลิมฉลองโรงเรียนมีอายุครบร้อยปี มีการสร้างตึกร้อยปีไว้เป็นอนุสรณ์
                      โรง เรียนมงฟอร์ตเชียงใหม่ แผนกมัธยม ได้ย้ายมาอยู่ในที่ดินที่ซื้อใหม่ โดยขายที่ดินโรงเรียนมงฟอร์ตประถมไปได้ ย้ายแผนกประถมฯมาอยู่ในที่ปัจจุบัน ที่ถนนช้างคลาน  ผู้ดำเนินโครงการ คือ ภราดาบัญญัติ โรจนารุณ อธิการโรงเรียนในขณะนั้น
                      ในสมัยของท่านมีการส่งภราดาหลายองค์ไปเรียนปริญญาโท  ปริญญาเอก ณ ประเทศฟิลิปปินส์และประเทศสหรัฐอเมริกา
                      ท่าน ได้เปิดโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ หลักสูตร ปวช. ของกรมอาชีวศึกษาขึ้น       ได้แยกจากโรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชย์ เป็นอีกโรงเรียนหนึ่งในบริเวณเดียวกัน เพื่อให้ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากกระทรวงศึกษาธิการ แต่ยังคงบางวิชาของหลักสูตรเดิมไว้ โดยเน้นการสอนเป็นภาษาอังกฤษ
                      เพื่อ ความเป็นหนึ่งเดียวกันกับโรงเรียนต่างๆของแขวงฯ ท่านได้จัดประชุมคณะกรรมการ ที่ปรึกษาของแขวงฯ และตามด้วยประชุมอธิการและผู้อำนวยการของสถาบันต่างๆ ของแขวงฯ เป็นประจำทุกเดือน  ท่านได้จัดให้มีการแข่งขันกรีฑาเครือ โดยกำหนดให้มี 2 ปีต่อครั้ง และจัดให้มีการร่วมทุนทรัพย์จากโรงเรียนต่างๆ เพื่อใช้ก่อสร้างอาคารเรียนในบางโรงเรียนของแขวงฯ ที่ยังขาดแคลนในด้านปัจจัย
                      ภราดา สุรสิทธิ์ สุขชัย เป็นคนรุ่นใหม่ที่เข้ามารับหน้าที่เจ้าคณะแขวงฯ ท่านยังคงส่งภราดาไปศึกษาทางโลกและทางธรรมทั่วไป มีภราดาเรียนจบระดับปริญญาเอกหลายท่านในหลายสาขา
                      ท่าน เริ่มบริหารแขวงฯ ตามแนว (OD) พัฒนาองค์กร มีการตั้งคณะกรรมการต่างๆ ขึ้นช่วยบริหารแขวงฯ เช่น คณะกรรมการฝ่ายการศึกษา ฝ่ายการฝึกอบรมภราดา ฝ่ายสังคมพัฒนา       ฝ่ายการเงินและทรัพย์สิน เป็นต้น
ท่านเริ่มสนับสนุนโรงเรียนต่างๆ ของแขวงฯ ให้ส่งภราดาและครูไปดูงานในต่างประเทศ ได้ส่งทั้งครูและภราดาไปอบรมการสอนภาษาในต่างประเทศ
                      ท่าน กำหนดให้แยกระบบการเงินของโรงเรียนและบ้านนักบวชออกจากกัน เลิกการ    บริหารงานระบบครอบครัว กระจายความรับผิดชอบไปสู่ครู เริ่มสร้างทุนถาวรในแขวงฯ และโรงเรียน ปรับปรุงกฎเกณฑ์ของมูลนิธิฯ ในด้านต่างๆ ให้เหมาะสมมากขึ้น มีนโยบายเปิดแผนกอนุบาล และรับเด็กหญิงในโรงเรียนต่างๆ หลายโรงเรียน
                      มีการเปิดแผนกพาณิชยการที่โรงเรียนอัสสัมชัญ นครราชสีมา โดยมอบให้ภราดา ดร.วินัย วิริยาวงศ์  เป็นผู้สนองนโยบายนี้
                      ท่าน ได้ให้ทุนการศึกษาผู้ด้อยโอกาสในที่ต่างๆ นอกเหนือไปจากการให้ทุนการศึกษาในโรงเรียนต่างๆ ตั้งแต่ภราดาเริ่มมาดูแลโรงเรียนอัสสัมชัญ บางรัก
                      ปี ค.ศ.1990 : วิทยาลัย ABAC มีฐานะเป็นมหาวิทยาลัย (Assumption University)  และต่อมาสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มีมติให้ขยายวิทยาเขตไปที่บางนา
                      ปี ค.ศ.1993 :  ได้จัดให้มีการจัดประชุมสภาเจ้าคณะแขวงฯ ต่างๆ ของคณะที่ AU เพื่อเตรียมสมัชชาของคณะฯ  ในหัวข้อ Revitalization (การฟื้นฟูจิตตารมณ์นักบวชของคณะฯ)
                      ศูนย์ กลางของแขวงฯ ที่ซอยทองหล่อนั้น ภราดายอห์น แมรี่ ได้สร้างไว้เป็นตึกสามชั้น ทางราชการได้ออกกฎหมายใหม่เกี่ยวกับการสร้างอาคาร ซึ่งเมื่อประกาศใช้แล้ว การสร้างอาคารใหม่ ให้มีพื้นที่ใช้งานได้มากและสูงๆ จะทำไม่ได้ ท่านจึงตัดสิ้นใจสร้างศูนย์กลางแขวงฯ ใหม่ เพื่อให้เป็นศูนย์กลางแขวงฯ ใหม่ขึ้น และเพื่อให้เป็นศูนย์กลางของมูลนิธิฯ และยังให้เป็นศูนย์พัฒนาบุคลากร นอกจากนั้นยังใช้ทำกิจกรรมอื่นๆ ของแขวงฯ อีกด้วย

การริเริ่มอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงสมัยของท่าน คือ-เริ่มแนวคิดการจัดทำศูนย์เผยแพร่ชีวิตของนักบุญมงฟอร์ต (Montfort Center)ในแขวงฯ

-เริ่มบริหารด้วยการมีส่วนร่วม (Participative Management) ทั้งในรูปภราดา ครู ผู้ปกครอง ฯลฯ

-สร้างชีวิตกลุ่มของภราดาที่คอยช่วยเหลือกัน ได้เริ่มแบ่งภราดาตามอายุ มีหัวหน้ากลุ่ม จัดประชุมเป็นประจำ

-มีนโยบายให้แขวงฯ และโรงเรียน ดำเนินการซื้อที่ดินเพื่อการลงทุนได้

-มีนโยบายบริหารแขวงฯ โดยคำนึงถึงคนเป็นสำคัญ (Person Oriented)

-มีการเริ่มรวมรวบข้อกำหนดเพื่อการปรับปรุงทำ (Provincial  Directory) ใหม่

-มี การเปิดทางให้โรงเรียนเป็นกึ่งธุรกิจ (Semi-Business) แทนการเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไรเลย เนื่องจากโรงเรียนของมูลนิธิฯ ต้องรู้จักช่วยเหลือตัวเองมากขึ้น

-เริ่มมีการศึกษาและนำเสนอแนวคิดในเรื่องวิสัยทัศน์และพันธกิจ ที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น โดยการนำของภราดาอนุรักษ์ นิธิภัทราภรณ์

-มีการนำการบริหารโดยมีเป้าหมาย (Managementby Objectives) มาใช้ในการจัดทำโครงการพัฒนาและดำเนินงานในโรงเรียน

-ริเริ่มการจัดทำการวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นระบบ

-ริเริ่มการประชุมคณะกรรมการมูลนิธิฯสัญจร ไปตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อรับฟังปัญหา พัฒนาการ ทั้งของโรงเรียนและชีวิตกลุ่มภราดา
 
                      เมื่อ ภราดาศิริชัย ฟอนซีกา  ได้เป็นเจ้าคณะแขวงฯ แทนภราดาสุรสิทธิ์ สุขชัย แล้ว     ท่านได้ย้ายที่ทำการศูนย์แขวงฯ มาที่โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรีเป็นการชั่วคราว เพราะศูนย์กลางใหม่กำลังก่อสร้างอยู่
                      ท่าน ยังคงสนับสนุนให้ส่งภราดาและครู ไปศึกษาต่อและดูงานในต่างประเทศต่อไป       มีการจัดสัมมนาครู ผู้ร่วมบริหารทั่วแขวงฯที่พัทยาบ้าง ที่ศูนย์กลางของแขวงฯบ้าง ในเรื่องความเป็นเลิศทางวิชาการอันยั่งยืน
ปี ค.ศ.1976 : ทำการเปิดศูนย์กลางใหม่ เป็นตึกสูง 14 ชั้นครึ่ง ใช้เป็นศูนย์กลางการศึกษาของแขวงฯ ภราดา ดร.วิศิษฐ์ ศรีวิชัยรัตน์  ประธานกรรมการฝ่ายการศึกษาของแขวงฯ ได้จัดสัมมนาครู  ผู้ร่วมบริหารทั่วแขวงฯที่ศูนย์กลางใหม่นี้หลายครั้ง
                      มีการจัดประชุมภราดาแถบภาคพื้นเอเซีย ที่ศูนย์กลางใหม่แห่งนี้ด้วย
                      สภา บริหารแขวงฯ ได้จัดประชุมคณะที่ปรึกษาสัญจรไปตามสถาบันต่างๆ เพื่อรับทราบสถานการณ์ของที่ต่างๆ ได้ตัดสินใจย้ายวิริยานุชนสถานไปอยู่ยังสถานที่ใหม่ คือที่จังหวัดนครพนม
                      ได้จัดการจัดประชุมรวมภราดา เพื่อฟื้นฟูชีวิตและเตรียมสมัชชาแขวงฯ ที่จะมีขึ้นในปีต่อไป
ได้ทำการเปิดสวนอัสสัมชัญธนบุรี เสกวัดนักบุญหลุยส์ มารี ให้เป็นสถานที่สำหรับจัดสัมมนา เมื่อวันที่ 31 มกราคม
                      มีการประชุมตระเตรียมฉลองปี มงฟอร์ต เป็นนักบุญครบ 50 ปี โดยมีกิจกรรมต่อเนื่องตลอดปี
                      สภาบริหารของแขวงไทย ได้ไปร่วมประชุมกับสภาบริหารของแขวงสิงคโปร์ในเดือนมกราคมปีนี้
                      ในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม  ได้ส่งภราดาไปแสวงบุญตามรอยมงฟอร์ต
                      มีการไปร่วมประชุมสภาบริหารแขวง ของแขวงต่างๆ ในภาคพื้นเอเซีย ที่ประเทศอินเดีย ในเดือนมิถุนายน
                      ได้ มีการจัดสมัชชาของแขวงฯ โดยเชิญทีมงาน Saidi  จากฟิลิปปินส์ มาทำการวิจัยงานของแขวงฯ หลังจากที่ได้กระทำมาแล้วตั้งแต่ปี ค.ศ. 1984
                      เนื่อง จากสภาพเศรษฐกิจของประเทศแบบฟองสบู่ ที่ก้าวหน้ามาอย่างดีเป็นเวลานาน ต้องประสบกับภาวะชะงักงันเงินบาทลดค่าลงมาก บริษัทต่างๆ ล้มละลาย มีการปลดคนงานออก ประเทศประสบปัญหาด้านการปกครอง มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ฯลฯ สภาพดังกล่าวได้ระบาด ออกไปในประเทศต่างๆ ในภาคพื้นเอเซีย จนนิตยสารไทม์เรียกว่าเป็น “โรคต้มยำกุ้ง” ระบาย
                      ใน เดือนตุลาคม ค.ศ.1997 ได้ให้ครูจากโรงเรียนต่างๆ ไปแสวงบุญมงฟอร์ต โดย ภราดาทินรัตน์ คมกฤส  และภราดาฟิลิป กีมองต์ เป็นผู้นำไป ในเดือนเดียวกันภราดาที่โรงเรียนอัสสัม ชัญกรุงเทพฯ ได้จัดแสวงบุญสำหรับเด็กคาทอลิกของโรงเรียนในชั้น ป.6-ม.2 จำนวน 36 คนด้วย
                      ใน เดือนตุลาคม ค.ศ.1997 เช่นกัน ภราดาดำรง เลาหบุตร  และภราดาหนุ่มได้จัดค่ายมหกรรมนักเรียนเกี่ยวกับมงฟอร์ต และคณะภราดาสำหรับนักเรียนของแขวงฯทุกโรงเรียน โดยมีเด็กนักเรียนและครูเข้าร่วมกว่า 400 คน ภราดาเจ้าคณะแขวงฯมาดูแลให้กำลังใจตลอดงานนี้ สถานที่จัดงานคือ อัสสัมชัญ ศรีราชา
สมัยแรกของภราดาศิริชัย ฟอนซีกา ท่านยังได้ริเริ่มสิ่งต่างๆ  อีก กล่าวคือ
                      - มีการจัดสมัชชาแขวงฯ และสมัชชามีมติไม่เปิดโรงเรียนในระบบอย่างปัจจุบันอีก ยกเว้นการเปิดโรงเรียนสำหรับผู้ด้อยโอกาส และสนับสนุนโรงเรียนของวัด
                      -มีการทำวิจัยเปรียบเทียบคุณภาพของโรงเรียน เพื่อรู้และวางแผนในการศึกษาเชิงคุณภาพที่ยั่งยืน

ปี ค.ศ.1997 : - มี การพูดคุยเรื่องกลุ่มเพื่อนมงฟอร์ตมากขึ้น โดยทางศูนย์กลางคณะฯได้เขียนระเบียบ การชมรมเพื่อนมงฟอร์ตออกมา  เมื่อ วันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 1997

                         -ได้ส่งภราดาไปสำรวจความเป็นไปได้ของการเริ่มงานในหลายประเทศในภูมิภาคเอเซีย
ปี ค.ศ.1998 : -ได้ ย้ายศูนย์ฝึกอาชีพที่ขอนแก่นมาตั้งขึ้นใหม่ ที่บ้านปากทวย อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม โดยมีภราดาวิจารณ์ ทรงเสี่ยงชัย เป็นผู้บุกเบิก ก่อสร้างนวกสถาน ย้ายมาอยู่ที่นครพนมอยู่ระยะหนึ่ง จึงย้ายไปที่สันทรายเช่นเดิม เพราะความยากลำบากในการติดต่อสื่อสาร และการเดินทาง
-สมัชชา คณะฯ ที่โรม ได้เลือก ภราดาศิริชัย ฟอนซีกา เป็นรองอัคราธิการ องค์ที่ 2  ไปประจำที่กรุงโรม ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม และได้เลือก ภราดา สุรสิทธิ์ สุขชัย เป็นเจ้าคณะแขวงชั่วคราว ในปี ค.ศ. 2000-2001


ภราดา ซัลวีโน ศักดา กิจเจริญ  
เกิดวันที่ 2 กันยายน ค.ศ.  1954  อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ประวัติการศึกษา
- ระดับประถมศึกษาตอนต้น
โรงเรียนนักบุญเปโตร  อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม
- ระดับประถมศึกษา
ตอนปลายโรงเรียนอัสสัมชัญระยอง  จังหวัดระยอง
- ระดับมัธยมศึกษา
โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา รุ่น2710   เลขประจำตัว 7036
- ปี ค.ศ. 1984
เดินทางไปศึกษาต่อ ณ กรุงโรมประเทศ อิตาลี
- ปี ค.ศ. 1987
ปริญญาตรี สาขาปรัชญา(B.Ph.) และสาขาเทววิทยา (S.T.B.)
มหาวิทยาลัย เกรโกเรียน
- ปี ค.ศ. 1988
ปริญญาโท สาขาชีวิตฝ่ายจิต มหาวิทยาลัยแองเจลีกุม (M.A. Spirituality)
ประเทศอิตาลี
- ปี ค.ศ. 1998
ปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา (M.Ed.)
มหาวิทยาลัยแห่งเดย์ตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา
 ประวัติการทำงาน
- ปี ค.ศ. 1973-1974
เตรียมถวายตัวเป็นภราดา ที่ประเทศอินเดีย
- ปี ค.ศ. 1975
เดินทางกลับประเทศไทย ถวายตัวเป็นภราดา
(เป็นภราดารุ่นแรกที่ถวายตัวในประเทศไทย)
- ปี ค.ศ. 1975-1983
ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ ธนบุรี
- ปี ค.ศ. 1984-1990
เดินทางไปศึกษา ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี
- ปี ค.ศ. 1990-1992
อธิการบ้านนักศึกษา คณะเซนต์คาเบรียล อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
- ปี ค.ศ. 1992-1996
- รองผู้อำนวยการ หัวหน้าฝ่ายนักเรียนประจำ
   และหัวหน้าฝ่ายบริการโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- กรรมการที่ปรึกษาของอธิการเจ้าคณะเซนต์คาเบรียล แขวงประเทศไทย
- กรรมการบริหารมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
- ปี ค.ศ. 1996-1998
เดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา
- ปี ค.ศ.1998-2000
- ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- กรรมการที่ปรึกษาของอธิการเจ้าคณะเซนต์คาเบรียลฯ
- กรรมการบริหารมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
- อธิการเจ้าคณะเซนต์คาเบรียลแขวงประเทศไทย
- ประธานมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย
- นายกสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญ สมุทรปราการ
- ปี ค.ศ. 2001-2006
- ประธานสหพันธ์อธิการเจ้าคณะนักบวชในประเทศไทย
- ประธานชมรมนักบวชชายแห่งประเทศไทย
- ประธานชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญศรีราชา  รุ่น 2710
ปัจจุบัน- ผู้อำนวยการโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- ประธานสถานศึกษาโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา
- กรรมการสภามหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ
- นายกสมาคมผู้บริหารโรงเรียนเอกชนอำเภอศรีราชา
- ประธานชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญศรีราชา  รุ่น 2710
- กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3
ผลงานดีเด่น / ความภาคภูมิใจ
- ปี ค.ศ. 1994
ได้รับโล่เกียรติคุณ    ศิษย์เก่าดีเด่น ACS รุ่น 2710
- ปี ค.ศ. 1998
ได้รับโล่เกียรติคุณ    ผู้บริหารดีเด่นระดับมัธยมศึกษาสมาคมผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งประเทศไทย
- ปี ค.ศ. 1999
ได้รับโล่เกียรติคุณ    ผู้บริหารดีเด่น สาขาพัฒนาการศึกษาและบำเพ็ญประโยชน์ต่อสาธารณกุศลจากมูลนิธิเพื่อสังคมไทย
- ปี ค.ศ. 2003
ได้รับโล่เกียรติคุณ  ศิษย์เก่าดีเด่น 60 ปี อัสสัมชัญศรีราชา
- ปี ค.ศ. 2007
ได้รับเครื่องหมายเชิดชูเกียรติ “คุรุสดุดี”
- ปี ค.ศ. 2008
ได้รับโล่เกียรติคุณสนับสนุนโครงการ “To be Number One” ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี
- ปี ค.ศ. 2009
ได้รับรางวัลผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนดีเด่นจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3
ได้รับรางวัล ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนดีเด่นจากคุรุสภาจังหวัดชลบุรี
แผนที่โรงเรียน อัสสัมชัญนครราชสีมา

สถานศึกษาที่อยู่ในความดูแลของภราดาคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย

ชื่อสถาบัน จังหวัด ตั้งเมื่อ พ.ศ.
1. โรงเรียนอัสสัมชัญ (AC) กรุงเทพฯ 2428
2. โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (SG) กรุงเทพฯ 2463
3. โรงเรียนมงฟอร์ตวิทยาลัย (MC) เชียงใหม่ 2475
4. โรงเรียนอัสสัมชัญพาณิชยการ (ACC) กรุงเทพฯ 2482
5. โรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา (ACS) ชลบุรี 2487
6. โรงเรียนเซนต์หลุยส์ (SL) ฉะเชิงเทรา 2491
7. ยุวลัยเซนต์หลุยส์ แมรี่ (SLJ) ชลบุรี 2491
8. โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง (ACL) ลำปาง 2501
9. โรงเรียนอัสสัมชัญธนบุรี (ACT) กรุงเทพฯ 2504
10. โรงเรียนอัสสัมชัญระยอง (ACR) ระยอง 2506
11. โรงเรียนอัสสัมชัญอุบลราชธานี (ACU) อุบลราชธานี 2508
12. โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม (ACP) กรุงเทพฯ 2508
13. โรงเรียนอัสสัมชัญนครราชสีมา (ACN) นครราชสีมา 2510
14. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (AU,ABAC) กรุงเทพฯ 2515
15. โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ (ACSP) สมุทรปราการ 2522
17. บ้านนักศึกษาเซนต์คาเบรียล (SGS) นครปฐม 2526
18. นวกสถาน เดอ มงฟอร์ต (MNS) เชียงใหม่ 2528
19. โรงเรียนอัสสัมชัญเทคนิคนครพนม (ATSN) นครพนม 2541
ตราสัญลักษณ์ของภราดาคณะเซนต์คาเบรียล

ตรานี้เป็นเครื่องแสดงเอกลักษณ์และความสามัคคีของบรรดาสมาชิกอัสสัมชัญและมี ความสำคัญมากในฐานะเป็นที่รวมหัวใจหลายพันหลายหมื่นไว้ให้อยู่ภายใต้สำนึก แห่งการประพฤติปฏิบัติร่วมกันซึ่งความหมายของตราสัญลักษณ์ มีดังนี้
โล่ หรือ Coat of Arms ที่อยู่ใจกลางของตรานี้เป็นเครื่องหมายแสดงเกียรติประวัติอันยาวนานและยั่งยืนของสถาบันภราดาและคณะเซนต์คาเบรียลภายในเป็นโล่ แบ่งเป็น 4 ส่วน ซึ่งมีความหมายเชื่อมโยงกันดังดังนี้
ส่วนที่หนึ่ง คือคำว่า A.M. คือ Ave Maria (ภาษาละติน) Maria เป็นชื่อของมารดาของพระเยซูคริสต์ Ave Maria ตรงกับภาษาไทย ว่าวันทาแม่มารีช่อดอกซ่อนกลิ่นสีขาวเป็นเครื่องแสดงถึงความบริสุทธิ์
ส่วนที่สอง เป็นรูปเรือใบ ก็เปรียบได้กับนาวาชีวิตที่จะต้องต่อสู้คลื่นลมแสงแดดไปจนถึงฝั่งเป็นคติให้ได้คิดเสมอว่าชีวิต คือการต่อสู้
ส่วนที่สาม มีดวงดาวอยู่ในท้องฟ้าเหนือเรือลำที่กำลังสู้คลื่นลม หมายถึง แสงแห่งความหวังได้แก่ แสงธรรมแห่ง ศาสนา กับแสงแห่งปัญญา
ส่วนที่สี่ เป็นเครื่องหมาย D+S ย่อมาจากภาษาฝรั่งเศษ Dieu Seul ซึ่งมีความหมายว่า จงทำทุกสิ่งเพื่อเป็นสิริมงคลแก่พระเจ้าส่วนเครื่องหมายกางเขนเป็นเครื่องหมายแสดงถึงความเสียสละและ ความรัก
..............พวงดอกไม้ ที่ประดับรองโล่นั้นเป็นมาลัยเกียรติยศที่จะเตือนใจทุกคนให้กระทำความดีเพื่อเชิดชูและจรรโลง ไว้ซึ่งเกียรติยศชื่อเสียงของสถาบันมิให้เสื่อมสูญสลายไปคำว่า Labor Omnia Vincit (Labor Conquers All Things) ที่อยู่ใต้ชื่อ Brothers of St. Gabriel เป็นคติพจน์ (motto) ประจำใจของสมาชิกในครอบครัวที่จะต้อง มีความวิริยะอุตสาหะ ซึ่งจะนำมาแห่งความสำเร็จ
..............ตราโล่ นี้จะอยู่ในจิตสำนึกของทุกคน และจะช่วยเตือนใจให้คำนึงถึงชีวิตในครอบครัวใหญ่แห่งคณะภราดาเซนคาเบรียลภาย ในอ้อมอกพระแม่มีศาสนาเป็นเสมือนชีวิตยึดถือความบริสุทธิ์และจริงใจต่อกัน และกัน รู้จักใช้ชีวิตเพื่อต่อสู้กับปัญหาและอุปสรรคอย่างมีความหวังใช้คุณธรรม และปัญญาเป็นเครื่องนำทาง และประกอบไปด้วยความรัก มีความ เสียสละ อันจะทำให้เราเป็นคนที่สมบูรณ์ สามารถเอาชนะอุปสรรคทั้งมวลได้ ด้วยความอุตสาหะจนได้รับความสำเร็จ ด้วยเกียรติยศและ การยกย่องสรรเสริญตลอดไป